Slide 1 Slide 2 Slide 3 Slide 4 Slide 5
เขียนโดย Admin | 0 ความคิดเห็น

แก้นอนกรน โปรโปรชั่นวันแม่

 

 นอนกรน....ภัยยามค่ำคืน อันตรายถึงชีวิต การนอนกรน อาจไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อีกต่อไป
เพราะปัญหาเรื่องการนอนกรนนอกจากจะสร้างความรำคาญต่อคนนอนข้างๆ แล้ว
ยังส่งผลโดยตรงต่อระบบหายใจ และอาจทำให้คุณเกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
จนกระทั่งส่งผลเสียให้กับอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้อย่างเรื้อรัง    
งานวิจัยในสหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์เจียง ฮี และคณะ พบว่า คนที่เป็นโรคนอนกรน ที่มีการหยุดหายใจมากกว่า 20 ครั้งต่อชั่วโมง มีโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่าคนปกติ
ข่าวดี !!!
         เรามีนวัตกรรมใหม่ สำหรับช่วยลดการนอนกรน โดยไม่ต้องผ่าตัด โดยไม่ต้องกินยา
และที่สำคัญท่านสามารถใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้ด้วยตัวท่านเอง

 

ด้วยการใช้เครื่องมือทางทันตกรรม รักษาอาการนอนกรนแบบใหม่ล่าสุด โดยไม่ต้องผ่าตัด
สำหรับใส่ตอนนอน เพื่อแก้ไขอาการนอนกรน
 

 ที่ครอบฟันแก้นอนกรน จัดเป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยที่นอนกรนหรือภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับที่ดีวิธีหนึ่ง สามารถใช้โดยง่ายด้วยการให้ผู้ป่วยสวมเครื่องมือในปากขณะนอนหลับ หลักการคือการยืดขากรรไกรมาทางด้านหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นหรือเนื้อเยื่อในลำคอหย่อนลงไปอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ ซึ่งจะทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น

(a) ภาพแสดงภาวะอุดกั้นในช่องคอก่อนใช้ Stop snoring(b) ภาพแสดงช่องคอที่เปิดกว้างขึ้นหลังใช้ Stop snoring

ที่ครอบฟันแก้นอนกรน Stop snoring solution ผลิตจากวัสดุ Polymer ซึ่งมีความสามารถในการยึดติดกับฟันเป็นอย่างดี แต่ในขณะเดียวกันก็มีความยืดหยุ่น ไม่แข็งจนเกินไป ทำให้สะดวกสบายในขณะสวมใส่Stop snoring solution ประกอบด้วยถาดสองถาดสำหรับสวมกับฟันบนและฟันล่าง โดยถาดทั้งสองจะยึดติดซึ่งกันและกัน
ที่ครอบฟันแก้นอนกรน Stop snoring solution จัดเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งนอกเหนือจากการรักษาด้วยเครื่อง CPAP สำหรับผู้ที่นอนกรนและผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่มีความรุนแรงระดับน้อยถึงปานกลาง เนื่องจากสะดวกสบายในการใช้และง่ายในการพกพาขณะเดินทาง

ขั้นตอนการใช้
ข้อควรระวัง
      ไม่แนะนำให้เด็กใช้ ผู้ที่เป็นโรคลมชัก หรือผู้ที่มีปัญหาทางช่องปาก ไม่ควรใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจได้


ขั้นตอนการสั่งซื้อ
Read more...
เขียนโดย Admin | 0 ความคิดเห็น

นอนกรน อันตรายถึงชีวิต

นอนกรน....ภัยยามค่ำคืน อันตรายถึงชีวิต


การนอนกรน อาจไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อีกต่อไป เพราะปัญหาเรื่องการนอนกรนนอกจากจะสร้างความรำคาญต่อคนนอนข้างๆ แล้ว ยังส่งผลโดยตรงต่อระบบหายใจ และอาจทำให้คุณเกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ จนกระทั่งส่งผลเสียให้กับอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้อย่างเรื้อรัง

   งานวิจัยในสหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์เจียง ฮี และคณะ พบว่า คนที่เป็นโรคนอนกรน ที่มีการหยุดหายใจมากกว่า 20 ครั้งต่อชั่วโมง มีโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่าคนปกติ และจากการศึกษาพบว่าประมาณร้อยละ 85 ของผู้ป่วยเป็นเพศชาย และเพศชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิงด้วยอัตราส่วน 7:1 แต่เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนเพศหญิงจะมีโอกาสเป็นมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าฮอร์โมนเพศจะมีผลต่อโรคนี้ได้
    สาเหตุของโรคนอนกรนเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน คือ
1.อายุมากขึ้น เนื้อเยื่อต่างๆ จะขาดความตึงตัว ทำให้ลิ้นไก่และลิ้นตกไปบังทางเดินหายใจได้ง่าย 2.ลักษณะโครงสร้างของกะโหลกศีรษะและกระดูกใบหน้าผิดปกติ เช่น คางเล็ก คอยาว หน้าแบน ล้วนทำให้ทางเดินหายใจช่วงบนแคบลงเกิดการอุดตัน และทำให้เกิดการหยุดหายใจได้
3.กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการ เกิดโรคมากกว่าคนปกติ 1.5 เท่า
4.อ้วน พบว่าประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยมักมีน้ำหนักมากกว่าร้อยละ 20 ของน้ำหนักมาตรฐาน และมีโอกาสเกิดการหยุดหายใจขณะหลับมากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากไขมันจะกระจายอยู่รอบๆ ทางเดินหายใจช่วงบนมากขึ้น ไขมันที่พอกบริเวณคอจะทำให้เวลาที่ผู้ป่วยนอนลง จะเกิดน้ำหนักกดทับทำให้ช่องคอแคบลงได้ ผนวกกับหน้าท้องที่มีไขมันเกาะอยู่มาก ทำให้กระบังลมทำงานได้ไม่เต็มที่ ความจุของปอดลดลง แต่เมื่อลดน้ำหนักได้ 5-10 กิโลกรัมจะทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นได้
5.แน่นจมูก ถ้ามีภาวะใดก็ตามที่ทำให้แน่นจมูก เช่น มีผนังกั้นจมูกคด เยื่อบุจมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ หรือเนื้องอกในจมูก ย่อมจะทำให้การหายใจลำบากขึ้น 5.การดื่มสุรา หรือการใช้ยาบางชนิด จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมทั้งกล้ามเนื้อที่คอยพยุงช่องทางเดินหายใจให้เปิด หมดแรง เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดตันได้ง่ายขึ้น
6.การสูบบุหรี่ ทำให้ประสิทธิภาพของระบบทางเดินหายใจแย่ลง ทำให้คอหอยอักเสบจากการระคายเคือง มีการหนาบวมของเนื้อเยื่อ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เกิดการอุดตันได้ง่าย และยังส่งผลเสียต่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ และ 7.โรคต่อมไร้ท่อต่างๆ มีผลทำให้เกิดทางเดินหายใจอุดตันได้มากกว่าคนทั่วไป

    อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่องนอนกรนไม่เพียงเกิดกับผู้ใหญ่เท่านั้น เพราะในเด็กก็พบปัญหานอนกรนได้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาการนอนกรนในเด็กมักมีสาเหตุมาจาก 1.ต่อมทอนซิล 2.ภาวะคัดจมูกเรื้อรัง เช่น โรคภูมิแพ้ เพราะเป็นเหตุให้แน่นจมูกหายใจไม่สะดวกต้องอ้าปากช่วย ยิ่งทำให้นอนกรนได้มากขึ้น 3.ไซนัสอักเสบ โดยเฉพาะไซนัสอักเสบเรื้อรัง จะมีน้ำมูกข้นและจมูกบวม ทำให้หายใจทางจมูกไม่สะดวก และ 5.ความผิดปกติแต่กำเนิด ทำให้กระดูกใบหน้าเล็ก หรือมีเนื้อเยื่อในทางเดินหายใจใหญ่ เช่น มีลิ้นโต เป็นสาเหตุให้มีภาวะอุดตันของทางเดินหายใจในขณะนอนหลับได้

    รศ.นพ.ประกอบเกียรติ หิรัญวิวัฒน์กุล จากภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “การนอนกรนแบ่งได้ 2 ชนิด คือ การนอนกรนชนิดไม่อันตราย และการนอนกรนชนิดอันตราย ซึ่งคนที่นอนกรนชนิดไม่อันตรายมักจะมีอาการนอนกรนเป็นจังหวะสม่ำเสมอ เสียงกรนอาจดังหรือค่อยขึ้นอยู่กับว่าเกิดจากบริเวณใด ถ้าเกิดเพราะมีเพดานอ่อนหย่อนหรือลิ้นไก่ยาว มักทำให้กรนเสียงดังมากโดยเฉพาะเวลานอนหงาย แต่ถ้ากรนจากการตึงแคบบริเวณโคนลิ้น เสียงมักเบาเหมือนหายใจแรงๆ ดังนั้นความดังของเสียงกรนจึงไม่ได้บอกว่าอันตรายหรือไม่ แต่ถ้ามีอาการหายใจสะดุด หยุดหายใจเหมือนคนหายใจไม่ออกหรือสำลัก อันนี้ถือว่าเป็นสัญญาณอันตราย ซึ่งมักพบในอาการนอนกรนชนิดอันตราย

   ส่วนโรคนอนกรนชนิดอันตราย นอกจากจะนอนกรนเสียงดัง มีอาการคล้ายสำลักหรือสะดุ้งตื่นกลางดึก ต้องลุกไปถ่ายปัสสาวะตอนกลางดึกแล้ว สมองจะรู้สึกตื้อ คิดอะไรไม่ออกเพราะง่วงนอน ขี้ลืม ไม่ค่อยมีสมาธิในการทำงาน ตื่นขึ้นมาด้วยอาการอ่อนล้า ไม่สดชื่น หรือปวดศีรษะ และต้องการนอนต่ออีกทั้งที่ไม่ได้นอนดึก บางคนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย อาทิ จุกแน่นคอเหมือนมีอะไรติดคอ หูอื้อ หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห รวมทั้งมีความรู้สึกทางเพศลดลง คนที่เป็นโรคนอนกรนชนิดอันตราย เมื่อยังหลับไม่สนิทอาจจะเป็นเพียงกรนปกติ แต่เมื่อหลับสนิทจะเกิดการอุดตันของทางเดินหายใจ มีลักษณะของการกลั้นหายใจ ตามด้วยการสะดุ้งหรือสำลักน้ำลาย หรือหายใจอย่างแรงเหมือนขาดอากาศ อาจเกิดขึ้นหลายสิบหรือหลายร้อยครั้งต่อคืน
    อย่างไรก็ดี คุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก จากจุฬาฯ ระบุถึงวิธีรักษาการรักษาโรคนอนกรนเบื้องต้นไว้ด้วยว่า ในปัจจุบันมีหลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดความอ้วน หลีกเลี่ยงการนอนหงาย โดยให้นอนท่าตะแคงเพราะจะช่วยให้หลับดีขึ้น งดการดื่มสุรา งดสูบบุหรี่ และงดยาบางประเภท เช่น ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ เพราะยากลุ่มนี้มีผลต่อการหายใจขณะหลับ
    ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคกรนชนิดอันตรายไม่รุนแรง มักนิยมใช้อุปกรณ์ทางทันตกรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นที่ครอบฟันบนและล่าง ทำหน้าที่ยึดขากรรไกรอันล่างให้เลื่อนไปด้านหน้า อุปกรณ์ชนิดนี้จะช่วยให้การหายใจดีขึ้น และมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด    แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการนอนกรนชนิดรุนแรงมากก็จะหันมาใช้เครื่องช่วยหายใจ (CPAP) ที่จะปล่อยแรงดันบวกและทำให้ช่องทางเดินหายใจกว้างขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยหลับสบาย ซึ่งปัจจุบันการรักษาด้วยเครื่อง CPAP นับว่าได้ผลดี แต่ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถใช้เครื่อง CPAP ได้ แพทย์อาจแนะนำให้แก้ไขความผิดปกติด้วยการผ่าตัด
    สุดท้าย การรักษาโดยการผ่าตัด ผู้ป่วยต้องเข้ารับการตรวจเพื่อยืนยันว่าการหลับของตัวเองมีอันตรายมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการผ่าตัดก็จะแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความผิดปกติของผู้ป่วย เช่น การผ่าตัดบริเวณเพดานอ่อน การผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์ออกโดยเลเซอร์ หรือตัดฝังพิลลาร์ การใช้คลื่นวิทยุ การผ่าตัดโพรงจมูก การผ่าตัดเลื่อนคางและดึงกล้ามเนื้อลิ้นมาด้านหน้า การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรบนและล่างมาด้านหน้า เป็นต้น

ข้อมูลจาก http://www.thaipost.net
Read more...
เขียนโดย Admin | 0 ความคิดเห็น

ฟันยางแก้นอนกรน

ข่าวดีสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนกรน 
อุปกร์ที่จะช่วยให้คุณนอนหลับฝันดี
ฟันยางแก้นอนกรน เป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยคุณได้
Read more...
เขียนโดย Admin | 0 ความคิดเห็น

New Promotion Happy new year 2014

โปรโมชั่นส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ด้วยโปรโมชั่นสุดพิเศษ จากราคา 3,500 บาท ลดเหลือเพียง 2,900 บาทเท่านั้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 085-7260151 หรือพิมพ์ในกล่องข้อความหน้าเว็บไว้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง



Read more...
เขียนโดย Admin |

สาเหตุและป้ญหาการนอนกรน Snoring

สาเหตุและวิธีแก้ปัญหานอนกรน


โดยปกติแล้วทุกคนมีสิทธิ์นอนกรนได้ ไม่เว้นแม้กระทั้งเด็กเล็กและสัตว์เลี้ยงก็อาจจะนอนกรนได้ แต่การนอนกรนมีผลต่อทั้งปริมาณและคุณภาพในการนอนหลับของเรา การนอนหลับไม่สนิทอาจทำให้เกิดความเมื่อยล้าในช่วงกลางวัน และอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ และที่สำคัญ ถ้าการกรนของคุณมีเสียงดังมากจนทำให้คนที่นอนข้างๆ ไม่สามารถนอนหลับได้ คุณก็อาจจะถูกตะเพิดให้ออกไปจากห้องนอนได้ ซึ่งการแยกห้องกันไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาการนอนกรนที่ถูกต้อง
การนอนกรนสามารถรักษาได้หลายวิธี การค้นหาสาเหตุของอาการนอนกรนของคุณนอกจากจะช่วยให้ค้นพบวิธีรักษาที่ถูกต้องแล้วยังช่วยพัฒนาสุขภาพของคุณรวมไปถึงความสัมพันธ์กับคู่นอนและการนอนหลับของคุณด้วย
วิธีแก้ปัญหานอนกรน
การแก้ปัญหาโรคนอนกรน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีผลต่อการนอนหลับพักผ่อนของคุณและเพื่อนร่วมเตียง จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากรู้สาเหตุที่แท้จริง การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องสามารถช่วยในการเลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม คุณสามารถทดลองแก้ปัญหาด้วยวิธีง่ายๆ ด้วยตัวเองก่อนเพื่อดูว่าสามารถป้องกันหรือลดอาการนอนกรนได้หรือไม่ โดยการปฏิบัติดังต่อไปนี้:
- นอนตะแคง
- ยกหัวเตียงให้สูงขึ้น
- งดเว้นการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาบางชนิด
- ทำความสะอาดหลอดลม
- ลดน้ำหนัก
ถ้าการทดลองทำตามวิธีการข้างบนไม่สามารถแก้อาการนอนกรนของคุณได้ ปัญหาดังกล่าวอาจเกิดจากสาเหตุที่ซับซ้อน รวมถึงการแก้ปัญหาที่ต้องใช้วิธีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ต้องเป็นกังวลเพราะยังมีวิธีรักษาอีกหลายวิธี โดยเฉพาะถ้าคุณสามารถค้นพบสาเหตุการนอนกรนของคุณได้ จะช่วยให้คุณสามารถเลือกวิธีรักษาได้เหมาะสมยิ่งขึ้น
สาเหตุของการนอนกรน
ส่วนใหญ่ผู้ที่นอนกรนเป็นประจำมักจะมีเนื้อเยื่อในลำคอมากกว่าปกติ ซึ่งทำให้เกิดการสั่นสะเทือนและเสียงดังมากกว่าปกติในขณะหายใจ รวมถึงตำแหน่งของลิ้นที่อาจจะขัดขวางทางเดินของอากาศในขณะหายใจ การตรวจสอบดูว่าคุณนอนกรนอย่างไรและเมื่อไหร่จะช่วยให้เข้าใจว่าคุณสามารถที่ควบคุมการนอนกรนของคุณได้ด้วยตัวคุณเองหรือไม่ได้ดียิ่งขึ้น การให้เพื่อนร่วมเตียงบันทึกอาการนอนกรนประจำวันของคุณจะช่วยให้ตัดสินใจใช้วิธีในการรักษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เคล็ดลับ: การบอกอาการนอนกรนของคุณอาจนำไปสู่วิธีแก้ปัญหาได้
ลักษณะการนอนกรนของคุณ:
- นอนกรนขณะปิดปาก: ตำแหน่งของลิ้นอาจเป็นสาเหตุที่สำคัญ
- นอนกรนขณะเปิดปาก: คุณอาจมีเนื้อเยื่อในลำคอมากเกินไป
- นอนหงาย: อาการนอนกรนอ่อนๆ อาจแก้ไขด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมในการเข้านอนหรือแม้กระทั่งไลฟ์สไตล์
- นอนกรนในทุกท่า: อาการนอนกรนของคุณอาจเกิดจากปัญหาที่ซับซ้อนและการรักษาต้องใช้วิธีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
สาเหตุและความเสี่ยงจากโรคนอนกรน
สาเหตุที่ไม่สามารถควบคุมได้
- พันธุกรรม – เช่น หลอดลมแคบ, ปากแหว่ง หรือสาเหตุผิดปกติทางร่างกายจากสาเหตุทางพันธุกรรมอื่นๆ
- เข้าสู่วัยกลางคน – อายุที่เพิ่มขึ้นจะทำให้หลอดลมแคบขึ้นและกล้ามเนื้อในการเปล่งเสียงลดลง
- ผู้ชาย – ผู้ชายมีหลอดลมแคบกว่าผู้หญิง ซึ่งมีโอกาสที่จะนอนกรนมากกว่า
- อาการแพ้ต่างๆ เป็นหวัด – การอุดตันในหลอดลมอาจทำให้หายใจลำบากและนอนกรน
สาเหตุที่สามารถควบคุมได้
- มีน้ำหนักมากเกินไป – การมีเนื้อเยื่อไขมันมากเกินไปและเนื้อเยื่อในการเปล่งเสียงน้อยเกินไปอาจทำให้เกิดการนอนกรนได้
- การสูบบุหรี่ – การสูบบุหรี่ (หรือได้รับควันบุหรี่จากคนใกล้ชิด) ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวและอุดตันทางเดินลมหายใจ
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และ ยาบางชนิด – แอลกอฮอล์และยาบางชนิดทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวและนำไปสู่การนอนกรน
- ท่านอน – การนอนหงายแบนราบบนที่นอนทำให้กล้ามเนื้อในหลอดลมผ่อนคลายและขัดขวางทางเดินอากาศในหลอดลม
การนอนกรนและปัญหาความสัมพันธ์
การนอนกรนนอกจากจะทำให้นอนเพื่อนร่วมเตียงนอนไม่หลับแล้วยังอาจจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาอีกด้วย รวมไปถึงการที่มีสามีภรรยาอาจแยกห้องกันนอนเพื่อให้ได้พักผ่อนเต็มที่ การรักษาอาการนอนอ่อนๆ จึงสามารถช่วยพัฒนาคุณภาพคุณภาพชีวิตของทั้งคุณและคนที่คุณรักได้
สามีหรือภรรยาของผู้ที่นอนกรมหนักๆ อาจนอนไม่หลับหลายชั่วโมงในแต่ละคืน ซึ่งการผักผ่อนไม่เต็มที่ทำให้เกิดความเมื่อยล้าที่อาจมีผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมสังคมหรือปัญหาสุขภาพและความสัมพันธ์
คู่นอนที่แยกห้องกันนอนทำให้ไม่มีโอกาสได้คุยกันก่อนนอนรวมถึงกายสัมผัสและอาจทำให้ความสัมพันธ์ตรึงเครียดได้
ผลเสียต่อสุขภาพที่เกิดจากการนอนกรน
ปัญหาสุขภาพของผู้ที่มีคู่นอนที่นอนกรนโดยส่วนใหญ่จะเกิดจากการนอนไม่หลับ ซึ่งทำให้เกิดความเมื่อยล้าและอาการตื่นตัวของระบบประสาท ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
ผู้ที่นอนกรนเป็นประจำหรือมีอายุอยู่ในช่วงวัยกลางคนที่เกิดจากการอุดตันในหลอดลม อาจต้องตื่นนอนหลายครั้งในแต่ละคืนเพื่อให้หายใจได้สะดวกขึ้น อย่างไรก็ตาม การนอนกรนไม่ได้เป็นสาเหตุของการหยุดหายใจฉับพลัน
การรักษาทางการแพทย์สำหรับโรคนอนกรน
ถ้าหากว่าการควบคุมการนอนกรนของคุณไม่ได้ผล ควรไปพบนาสิกแพทย์เพื่อรับการบำบัดที่ถูกต้อง ซึ่งอาจต้องใช้เครื่องมือในการบำบัดดังต่อไปนี้
เครื่องช่วยหายใจ
เป็นเครื่องมือช่วยให้อากาศผ่านเข้าออกได้อย่างสะดวกในขณะนอนหลับ โดยการอัดอากาศเข้าไปในหน้ากากที่คุณสวมขณะนอนหลับ
เครื่องมือทันตแพทย์สำหรับถ่างขากรรไกร
เป็นเครื่องมือทางการแพทย์คล้ายกับการ์ดป้องกันคางสวมใส่โดยนักกีฬาในขณะแข่งขัน ซึ่งสามารถช่วยให้อากาศไหลผ่านได้อย่างสะดวกโดยการถ่างขากรรไกรออกหรือเปลี่ยนตำแหน่งของลิ้นในขณะนอนหลับ
เครื่องมือชนิดนี้ควรจะมีขนาดพอดีกับปากของคุณ และส่วนอื่นๆ ที่เข้ากับสรีระศีรษะและคางของคุณ ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาสิกสามารถช่วยปรับแต่งเครื่องมือชนิดนี้ให้พอดีกับสรีระของคุณได้
การผ่าตัด
เป็นการการผ่าตัดขยายขนาดหลอดลมโดยนำเอาเนื้อเยื่อส่วนที่เกินออก ด้วยเลเซอร์ ไมโครเวฟ หรือวิธีอื่นๆ เช่น อาจจะเป็นการผ่าตัดต่อมทอลซิล หรือเนื้อเยื่อที่ด้านหลังของคอหรือข้างในโพรงจมูก หรือการปรับแต่งขากรรไกรใหม่
การผ่าตัดด้วยวิธีการใหม่ๆ ที่ได้ผล เช่น การฝังพลาสติกขนาดสั้นกว่า 1 นิ้ว เข้าไปในเพดานปากด้วยเครื่องมือพิเศษคล้ายไซริง ซึ่งอาจมีความเจ็บปวดและผลข้างเคียงเล็กน้อย วิธีดังกล่าวจะช่วยให้เนื้อเยื่อที่เกิดจากการผ่าตัดช่วยลดการสั่นสะเทือนที่ทำให้เกิดการนอนกรนได้ ข้อเสียของการรักษาด้วยวิธีนี้คือมีค่าใช้จ่ายสูงและประกันสุขภาพไม่ครอบคลุมถึงการผ่าตัดรักษาอาการนอนกรน
เคล็ดลับการรักษาการนอนกรนด้วยตัวเอง
ลดน้ำหนัก: การลดน้ำหนักได้ผลดีสำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรนอ่อนๆ การลดน้ำหนักเพียงเล็กน้อยช่วยลดเนื้อเยื่อบริเวณด้านหลังของลำคอและอาการนอนกรนได้
- นอนตะแคง: ถ้าคุณนอนหงายและมีการกรนเบาๆ การนอนตะแคงจะเป็นการช่วยรักษาอาการนอนกรนไปในตัว
หนุนหัวให้สูงขึ้น: พยายามยกศีรษะให้สูงด้วยการปรับหัวเตียงให้สูงขึ้น เพื่อให้อากาศไหลเวียนได้อย่างสะดวก หรือดันลิ้นและคางให้ยื่นไปข้างหน้า หรือใช้หมอนที่ออกแบพิเศษที่ทำให้กล้ามเนื้อที่คอไม่ย่น
งดเว้นการดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานยา และอาหารบางอย่าง: เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาบางอย่าง เช่น ยานอนหลับ ยาแก้แพ้ ทำให้เกิดการผ่อนคลายของลิ้นและกล้ามเนื้อที่คอ ซึ่งอาจทำให้เกิดการนอนกรนได้ ผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันสูงและน้ำนมถั่วเหลืองทำให้เกิดเมือกหรือมีเสมหะในลำคอซึ่งอาจทำให้เกิดการนอนกรนได้เช่นกัน
ทำความสะอาดทางเดินหายใจ: การอุดตันของทางเดินอากาศทำให้หายใจได้ลำบากขึ้น และทำให้เกิดสุญญากาศในลำคอ ซึ่งเป็นสาเหตุของการนอนกรน การลดการอุดตันในจมูกช่วยให้สามารถหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้นในขณะที่นอนหลับ ยาแก้แพ้ต่างๆ อาจช่วยรักษาหลายๆ โรคได้ แต่ทำให้กล้ามเนื้อที่คอมีการผ่อนคลายและเป็นสาเหตุของการนอนกรน
Read more...
เขียนโดย Admin | 0 ความคิดเห็น

Adult snoring


  • เพศชาย ประมาณร้อยละ 85 ของผู้ป่วยเป็นเพศ ชาย ทั้งจากการศึกษาทางระบาดวิทยาและ การศึกษาผู้ป่วยเฉพาะกลุ่ม พบว่าเพศชายมี โอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง ด้วยอัตราส่วน 7:1 แต่เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนพบว่าเพศหญิงมีโอกาสเป็นมากขึ้น อาจเป็นไปได้ว่าฮอร์โมนเพศจะมีผลต่อโรคนี้ได้ เชื่อว่าอิทธิพลของฮอร์โมนส่งผลที่โครงสร้างบริเวณศีรษะและลำคอของเพศชาย เนื้อเยื่อบริเวณคอหนาขึ้นทำให้มีช่องคอแคบกว่าผู้หญิง ฮอร์โมนของเพศหญิงมีส่วนทำให้กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยายช่องทางเดินหายใจ มีความตึงตัวที่ดี








  • อายุมากขึ้น เนื้อเยื่อต่างๆ จะขาดความตึงตัว ลิ้นไก่ยาวและเพดานอ่อนห้อย
    ต่ำลง กล้ามเนื้อต่างๆ หย่อนยาน รวมทั้งกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยายช่องทางเดินหายใจ
    บริเวณลำคอ ทำให้ลิ้นไก่และลิ้นตกไปบังทางเดินหายใจได้ง่าย

  • ลักษณะโครงสร้างของกะโหลกศีรษะและกระดูกใบหน้าผิดปกติ เช่น คางเล็ก คางเลื่อนไป
    ด้านหลัง ลักษณะคอยาว หน้าแบน ล้วนทำให้ทางเดินหายใจช่วงบนแคบลงเกิดการอุดตัน และทำ
    ให้เกิดการหยุดหายใจได้ โรคที่มีความผิดปกติบริเวณนี้ได้แก่ Down’s syndrome , Prader Willi
    syndrome , Crouzon’s syndrome เป็นต้น

  • กรรมพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ไม่อ้วน แต่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ปัจจัยทางพันธุ
    กรรมน่าจะเป็นสาเหตุหลักของผู้ป่วยกลุ่มนี้ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการ
    เกิดโรคมากกว่าคนปกติ 1.5 เท่า

  • อ้วน พบว่าประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วย OSA มี Body Mass Index (BMI) > 28 กิโลกรัมต่อ
    ตารางเมตร หรือมีน้ำหนักมากกว่าร้อยละ 20 ของน้ำหนักมาตรฐาน เมื่อลดน้ำหนักได้ 5-10
    กิโลกรัมจะทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นได้ ผู้ป่วยที่อ้วนมีโอกาสเกิดการหยุดหายใจขณะหลับมากกว่า
    คนทั่วไป เนื่องจากไขมันนอกจากจะกระจาย อยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆทั่วร่างกาย เช่น ที่สะโพก หน้า
    ท้อง น่อง ต้นขา ยังพบว่ามีเนื้อเยื่อไขมันกระจายอยู่รอบๆทางเดินหายใจช่วงบนมากขึ้น ไขมันที่
    พอกบริเวณคอจะทำให้เวลาที่ผู้ป่วยนอนลง เกิดน้ำหนักกดทับ ทำให้ช่องคอแคบลงได้ หน้าท้องที่
    มีไขมันเกาะอยู่มากทำให้กระบังลมทำงานได้ไม่เต็มที่ ความจุของปอดลดลง ล้วนเป็นปัจจัยเสริมที่
    ทำให้เกิดการหยุดหายใจได้โดยง่ายขึ้น

  • แน่นจมูก จมูกเป็นต้นทางของทางเดินหายใจ ถ้ามีภาวะใดก็ตามที่ทำให้แน่นจมูก เช่น
    มีผนังกั้นจมูกคด เยื่อบุจมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ หรือเนื้องอกในจมูก ย่อมจะทำให้กรนลำบากขึ้น

  • ดื่มสุรา หรือการใช้ยาบางชนิด จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมทั้งกล้ามเนื้อที่คอยพยุงช่องทาง
    เดินหายใจให้เปิด หมดแรงไป เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดตันได้ง่ายขึ้น นอนจากนี้จะกดการทำงาน
    ของสมอง ทำให้สมองตื่นขึ้นมาเมื่อมีภาวะการขาดออกซิเจนได้ช้า ซึ่งอาจส่งผลเสียอย่างร้ายแรง
    ต่อหัวใจและสมองได้

  • การสูบบุหรี่ ทำให้ประสิทธิภาพของระบบทางเดินหายใจแย่ลง ทำให้คอหอยอักเสบจากการ
    ระคายเคือง มีการหนาบวมของเนื้อเยื่อ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เกิดการอุดตันได้ง่าย และยัง
    ส่งผลเสียต่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ

  • โรคต่อมไร้ท่อต่างๆ ได้แก่ Hypothyroidism, Acromegaly พบว่าทำให้เกิดทางเดินหายใจอุด
    ตันได้มากกว่าคนทั่วไป

Read more...
เขียนโดย Admin | 0 ความคิดเห็น

ฟันยางแก้นอนกรน

ฟันยางแก้นอนกรน Stop snoring solution




รายละเอียดผลิตภัณฑ์

· ผลิตจาก Thermoplastic อย่างดี.  ง่ายต่อการใช้งาน· ทำความสะอาดได้สะดวก· ลดอาการนอนกรนและป้องกันการอุดกั้นของทางเดินหายใจ· มีกล่องพลาสติกเพื่อเก็บรักษาอย่างดี


Read more...